Big Data คืออะไร ทำไมถึงเรียก Big Data?

Spread the love

ถ้าจะพูดถึง Trend ที่กำลังมามาแรงและเป็นที่พูดถึงในแวดวงไอที คำว่า Big Data คงเป็นคำหนึ่งที่ต้องเคยผ่านหูของคุณแน่นอน แต่ถ้าถามว่าแล้ว Big Data เนี่ย มันคืออะไร? ทำไมต้อง Big Data? ถ้าในหัวคุณยังวนเวียนด้วยคำเหล่านี้ เราจะมาหาคำตอบกัน

Big Data คืออะไร

ถ้าถามว่า Big Data คงต้องบอกว่า คือ Data ทุกอย่างที่มีอยู่ในบริษัทของคุณ ไล่ตั้งแต่ข้อมูลบริษัท ที่ไม่ว่าจะเก็บอยู่ในรูปแบบไหน ไปจนถึง URLs ที่คุณ Bookmarks เอาไว้ นั้นก็ Big Data ถ้าจะบอกว่า Big Data is all around ก็คงไม่ผิดนัก เพราะมันไม่ได้จำแนกแจกจ่ายว่าต้องเป็นข้อมูลผ่านการวิเคราะห์มาแล้วหรือไม่ คือขอแค่เป็นข้อมูล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ประเภทอะไร ก็นับว่าเป็น Big Data ทั้งนั้นbig-data2

ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า Big Data ก็คือข้อมูลทุกอย่างที่เรามีอยู่ในบริษัท ทั้งข้อมูลที่มีแหล่งที่มาจากภายในบริษัทเองและข้อมูลที่มาจากแหล่งที่มาภายนอกอย่าง Social medias ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้หรือก็คือ ข้อมูลดิบ นั้นเอง ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการหลากหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานด้านไหน ในปัจจุบันนิยมทำ Big Data Analysis เพื่อใช้ในการสำหรับการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต หรือ ก็คือเพื่อใช้ดูแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง

ใหญ่แค่ไหนถึงเรียก Big Data

ถ้าจะพูดถึงขนาดของ Big Data ก็ต้องบอกว่า มันคือ Data ทุกอย่างรวมกัน –แต่ในแนวคิดปัจจุบันเห็นพ้องไปทางเดียวกัน Data ที่ถือเป็น Big Data จะไม่สามารถนำมาบริหารจัดการได้ด้วยโปรแกรมแบบเดิมๆที่เราคุ้นเคยกันอย่าง spreadsheets หรือ เครื่องมือทั่วๆไปที่มีอยู่ในระบบการจัดการฐานข้อมูล

โดยปกติแล้วนั้น การวิเคราะห์ Big Data มักจะมีการแยะข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องอยู่รวมกัน ซึ่งนั้นหมายความว่าสำหรับ Big Data แล้วไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้าง Sub-sets ย่อยๆของข้อมูลแต่อย่างใด เพราะมีเครื่องมือช่วยในเรื่องนี้อยู่แล้ว (สะดวกสบายไปอีกก)

คอนเซ็ปของ Big Data

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนให้คอนเซ็ปสำหรับ Big Data 犀利士
1″>เอาไว้ว่าต้องประกอบไปด้วยลักษณะที่สามารถสังเกตได้ คือ

    1. ปริมาณ (Volume)
    1. ความเร็ว (Velocity)
  1. ความหลากหลาย (Variety)

big-data1

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนใส่ลักษณะเพิ่มเติมในการบ่งบอกความเป็น Big Data:

    1. การแสดงข้อมูล (Visualization)
    1. ความน่าเชื่อถือ Veracity (Reliability)
    1. การผันแปร (Variability)
  1. คุณค่า (Value)

อย่างไรก็ตามคุณสมบัติการบ่งบอกตัวตนแค่ 3 ข้อแรกก็เพียงพอแล้วที่จะอธิบายถึงคอนเซ็ปของ Big Data

ตัวอย่างของการใช้ Big Data

เราขอยกตัวอย่าง Netflix ย้อนกลับไปราวๆปี 2008 ลูกค้าผู้ใช้บริการ Video on demand กลุ่มใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาจอดำ ในขณะที่ลูกค้า Streaming ที่ใช้บริการผ่านคลาวด์บางรายสามารถใช้งานได้เป็นปกติ ผลกระทบครั้งใหญ่ในครั้งนี้ กดดันให้ Netflix ต้องเร่งหาทางแก้ไขก่อนที่คิดจะให้ขยายการให้บริการออกไปยังต่างประเทศ Big Data คือกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา ทีมงานนำข้อมูลในทุกด้านทั้ง ส่วนที่มีความหนาแน่นในการใช้บริการ เครื่องข่ายความเร็วเน็ต จุดเชื่อมต่อระหว่างการให้บริการด้านข้อมูล ฯลฯ ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทางป้องกันปัญหา Down-time ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

และนี่คือคำอธิบายของคำว่า Big Data คำจำกัดความของข้อมูลต่างๆมากมายที่มารวมตัวกันเพื่อรอการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆที่แตกต่างกันโดยผ่านการใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการวิเคราะห์

Internet of Things (IoT) คืออะไร

Spread the love

  Internet of Things (IoT) คือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

     IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

     เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

 


ภาพอธิบายแต่ละ Network Layers ของ Internet of Things โดย IBM 

 

แบ่งกลุ่ม Internet of Things

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่

  1. Industrial IoT
    คือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
  2. Commercial IoT
    คือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

 

NETPIE: Network Platform for Internet of Everything

คลิปอธิบาย IoT ให้เข้าใจได้มากขึ้น โดย NECTEC