Blockchain คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเรา

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech โดยบทความนี้จะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

bitcoin-green

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

“Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง“

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ

แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer

blockchain

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ

เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องย必利勁 ากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย

และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

nonfinancial blockchain

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกนะครับ

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก letstalkpayments.comcryptocoinsnews.com

ซึ่งเรามีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ เป็นสรุปการบรรยายจาก Chris Skinner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบล็อกเชน อ่านได้ที่นี่

มารู้จัก Data Center กันเถอะ

มาตรฐานของ Data Center

การสร้างศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตหรือ Data Center นั้นไม่ใช่สร้างกันดื้อๆ ไม่มีแนวทางอะไรนะครับ แต่มีมาตรฐานที่เรียกว่า ANSI/TIA-942 กำหนดระดับคุณภาพของ Data Center ออกเป็น 4 ระดับ หรือที่เรียกในวงการว่า Tier ซึ่งแค่ Tier 1 มาตรฐานขั้นต่ำสุดสำหรับการเป็น IDC ก็กำหนดว่าระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.671% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 28.83 ชั่วโมงแล้ว ส่วน Tier 4 ที่เป็นมาตรฐานสูงสุดกำหนดให้ระบบต้องทำงานได้ 99.995% หรือปีหนึ่งล่มได้ไม่เกิน 26.28 นาที และต้องมีระบบสำรองพร้อมทำงานเสมอ

CAT_server

โดยมาตรฐานทั้ง 4 มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

  • Tier 1 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.671% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 28.8 ชั่วโมง แต่ไม่มีระบบทำงานสำรอง
  • Tier 2 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.741% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 22 ชั่วโมง ต้องมีระบบทำงานสำรองด้วย
  • 威而鋼 >Tier 3 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.982% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 1.6 ชั่วโมง ต้องมีระบบทำงานสำรอง มีไฟฟ้าสำรอง และช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำรอง
  • Tier 4 ระบบต้องทำงานได้อย่างน้อย 99.995% หรือในหนึ่งปีระบบล่มได้ไม่เกิน 24 นาที ต้องมีระบบทำงานสำรอง มีไฟฟ้าสำรอง ช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำรอง และทุกอย่างที่เกี่ยวกับระบบใน IDC ก็ต้องมีตัวสำรอง เช่นระบบแอร์ ระบบดับเพลิง ฯลฯ
CAT_level3

การออกแบบเฉพาะของ Data Center

การสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์จะมี 2 แนวทางหลักๆ ในปัจจุบันคือสร้างในอาคารเดิมที่มีอยู่แล้ว และปรับปรุงขึ้นเป็น Data Center หรือสร้างเป็นอาคารใหม่ที่ออกแบบเป็น Data Center โดยเฉพาะครับ ซึ่งอาคารที่ออกแบบมาเฉพาะก็จะมีข้อได้เปรียบในการออกแบบที่สามารถสร้างตามลักษณะเฉพาะของอาคาร Data Center ได้หลายอย่าง เช่นสร้างให้พื้นรับน้ำหนักได้มากกว่าอาคารปกติ หรือสร้างให้เครื่องปั่นไฟอยู่แยกกันคนละอาคารเพื่อลดความสั่นสะเทือนเวลาเครื่องทำงาน ซึ่งการออกแบบเฉพาะที่ใช้ใน IDC นั้นมีหลายอย่าง เราจะขอเล่าให้ฟังกันดังนี้

<犀利士 h3>เรื่องวุ่นวายของการทำความเย็นแต่ต้องประหยัดพลังงาน

Data Center นั้นต้องใช้พลังงานเยอะมากนะครับ ซึ่งการใช้ไฟ 2 ส่วนหลักๆ คือสำหรับจ่ายให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงาน พวกเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายที่วางเป็นร้อยๆ พันๆ ตู้นั้นแหละ อีกส่วนหนึ่งก็คือไฟฟ้าสำหรับระบบทำความเย็น ก็ที่เรารู้ๆ กันว่าพวกคอมพิวเตอร์นั้นมันไม่ถูกกับความร้อน แต่ตัวเองดันสร้างความร้อนมามากมาย และเมืองไทยเป็นเมืองที่ร้อนมว้าก อาคารของ Data Center จึงต้องป้องกันความร้อนจากภายนอกได้ดีพอสมควร อาจจะด้วยฉนวนกันความร้อน หรือเทคนิคอย่าง Solar Slab

การทำงานของ Precision Air Conditioning

การทำงานของ Precision Air Conditioning

Data Center หลายแห่ง ก็มีการยกพื้นขึ้นเพื่อเดินระบบปรับอากาศไว้ใต้พื้น โดยจะเป็นระบบ Precision Air-Conditioner หรือการทำความเย็นที่ให้ลมเย็นจากพื้นสู่เพดาน คือลมเย็นจะพุ่งออกมาจากพื้นหน้า Server ที่กำลังทำงาน ดูดลมเย็นเข้าไประบายความร้อนในเครื่องจนกลายเป็นลมร้อนดูดออกทางเพดานของห้องครับ ซึ่งระบบที่ดีก็สามารถควบคุมการทำงานของระบบปรับอากาศแบบนี้เป็นรายแถว แถวไหนยังไม่มีเครื่องก็ปิดไปก่อน เพื่อประหยัดไฟได้ด้วย

PrecisionAir2

และตัวพื้นของห้องเซิร์ฟเวอร์นี้ นอกจากจะยกพื้นเพื่อให้มีระบบทำความเย็นซ่อนอยู่ใต้พื้นแล้ว ยังทำให้พื้นรองรับน้ำหนักได้มากขึ้นด้วย เป็นการกระจายน้ำหนักจากจุดเดียวออกไปยังพื้นอาคารหลายๆ จุด หรือที่เรียกว่า Share Load เพื่อรองรับน้ำหนักเซิร์ฟเวอร์ UPS หรืออุปกรณ์อื่นๆ โดยอย่างน้อยพื้นของห้องเซิร์ฟเวอร์ใน IDC ก็ควรรองรับน้ำหนักได้ 800 กิโลกรัม/ตารางเมตร

การรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของอาคาร

ในอาคารสมัยใหม่ก็ต้องมีระบบดับเพลิงอยู่แล้วจริงไหมครับ แต่สำหรับอาคารศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากอยู่ระบบดับเพลิงก็ต้องดีกว่าการใช้น้ำธรรมดามาดับไฟครับ

สารดับเพลิงที่ใช้กันหลักๆ ใน Data Center จะมี 2 ตัวคือ Pyrogen ที่เป็นสารไม่นำไฟฟ้า ไม่ทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอยู่ในรูปของแข็งจึงไม่ต้องเก็บไว้ในถังแรงดัน และอีกตัวหนึ่งคือ Novec 1230 ที่พัฒนาขึ้นโดย 3M สารนี้ไม่ทำอันตรายกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน และมีอายุในชั้นบรรยากาศสั้น ไม่กี่วันก็สลายตัวหายไปหมด จึงไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ซึ่งระบบดับเพลิงของ IDC จะได้รับการตรวจเช็คตลอดเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากอัคคีภัย

CAT_sec

จุดสำคัญอย่างหนึ่งของ Data Center คือต้องมีการรักษาความปลอดภัยผู้ผ่านเข้าออกอย่างเข้มงวดด้วย เพราะเซิร์ฟเวอร์และข้อมูลที่อยู่ภายในนั้นมีมูลค่ามาก คงไม่มีใครที่อยากให้ข้อมูลหลุดหรือถูกทำลายไป มาตรการพื้นฐานของ Data Center คือทุกคนที่ผ่านเข้าออกจะต้องสแกนบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลงบันทึกเวลาทั้งหมดเอาไว้ ส่วนแขกก็ต้องติดต่อขออนุญาตก่อนที่จะมาถึง แล้วเมื่อมาถึงก็ต้องแลกบัตร พร้อมถ่ายรูปคู่กับบัตรประชาชนเก็บไว้ในฐานข้อมูลอีกด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อรับประกันความปลอดภัย และความมั่นคงของข้อมูลและระบบงานทั้งหมดที่อยู่ภายในอาคารครับ

CAT_gen

Data Center ของ CAT

ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตของกสท โทรคมนาคมมี 3 แห่งหลักในประเทศไทยนะครับ เริ่มตั้งแต่ตึก CAT ที่บางรัก ที่เราจะคุ้นเคยกันมากที่สุด มีพื้นที่ให้บริการ 1,000 ตารางเมตร ได้มาตรฐานระดับ Tier 4 คือมีระบบสำรองทั้งหมด พร้อมเครื่องปั่นไฟที่พร้อมทำงานตลอด

แห่งที่ 2 อยู่ในจังหวัดนนทบุรีครับ มีพื้นที่ให้บริการวางเซิร์ฟเวอร์ 500 ตารางเมตร ได้มาตรฐานระดับ Tier 3 แต่ยังมีระบบสำรองไฟพร้อมเครื่องปั่นไฟที่เตรียมพร้อมตลอด และแห่งสุดท้ายน้องเล็กนั้นอยู่ที่ศรีราชา มีพื้นที่ให้บริการ 300 ตารางเมตร แต่ก็พร้อมขยายได้ในอนาคต ได้มาตรฐานระดับ Tier 4 เหมือนพี่ใหญ่

**หากสนใจวางระบบ Data Center ก็สามารถติดต่อทีมงานตามหมายเลขด้านบนได้ครับ**

ขอบคุณบทความดีๆจาก CAT และ เพจแบ่ไต๋ด้วยนะครับ

พลิกโฉมธุรกิจ ด้วยแนวคิดแบบดิจิทัล (Digital Marketing for Business)

บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานสัมนา มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ขอบคุณที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโลก digital กับเรา หวังว่าจะได้ความรู้กลับไปไม่มากก็น้อย

บรรยากาศช่วงเช้า ทักทายผู้เข้าร่วมสัมนาและแนะนำตัวทีมงาน

เริ่มทำ workshop 

!!!โหลดไฟล์เอกสาร ช่วงเช้า!!!

!!!โหลดไฟล์เอกสาร ช่วงบ่าย!!!  

ขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจ ทีมงานหวังว่าความรู้และประโยขน์ที่ได้น่าจะสามารถนำกลับไปใช้พัฒนาและส่งเสริมหน่วยงานทุกท่านต่อไปได้นะครับ

พบกันใหม่คราวหน้าครับ